เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 3. อานาปานัสสติกถา 5. สโตการิญาณนิทเทส
ทุติยจตุกกนิทเทส
แสดงหมวด 4 แห่งญาณที่ 2
[172] ภิกษุสำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้ปีติหายใจเข้า” สำเหนียกว่า
“เรากำหนดรู้ปีติหายใจออก” อย่างไร
ปีติ เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจ
เข้ายาว ปีติและปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์
ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจออกยาว ปีติและปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ ด้วย
อำนาจลมหายใจเข้าสั้น ฯลฯ ด้วยอำนาจลมหายใจออกสั้น ฯลฯ ด้วยอำนาจความ
เป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้กำหนดรู้กอง
ลมทั้งปวงหายใจออก ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจเข้า ฯลฯ
เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความเป็นผู้ระงับกายสังขาร
หายใจออก ปีติและปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น ปีติและปราโมทย์คือความเบิกบานใจ
ความบันเทิง ความหรรษา ความรื่นเริงจิต ความปลื้มจิต ความดีใจ ความพอใจ
นี้ชื่อว่าปีติ
ปีตินั้นย่อมปรากฏ อย่างไร
คือ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจ
เข้าหายใจออกยาว สติย่อมตั้งมั่น ปีตินั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น
เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจออกยาว สติ
ย่อมตั้งมั่น ปีตินั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น ฯลฯ ด้วยอำนาจ
ลมหายใจเข้าสั้น ฯลฯ ด้วยอำนาจลมหายใจออกสั้น ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็น
ผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้กำหนดรู้กองลม
ทั้งปวงหายใจออก ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจเข้า ฯลฯ
เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความเป็นผู้ระงับกาย
สังขารหายใจออก สติย่อมตั้งมั่น ปีตินั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :270 }